Miraah

Factorial Math Competition (FMC)

Factorial Math Competition (FMC 2025) - การสอบแข่งขันทักษะทางคณิตศาสตร์ระดับชาติและนานาชาติ

รูปแบบการสอบ

  • จัดสนามสอบแข่งขันทั่วประเทศ

วิชาที่สอบ

  • คณิตศาสตร์
เนื้อหาที่ใช้สอบ คณิตศาสตร์
  • รูปแบบการสอบแข่งขันประจำปี 2568 ขอบข่ายเนื้อหา และเกณฑ์การให้คะแนน
  • เปิดรับสมัคร 5 ช่วงชั้น โดยใช้เกณฑ์สมัครของปีการศึกษา 2567 ดังนี้
  • Epsilon : Grade 1-2
  • Delta : Grade 3-4
  • Gamma : Grade 5-6
  • Beta : Grade 7-8
  • Alpha : Grade 9-10
  • เกณฑ์การให้คะแนน และลักษณะคำถาม : ข้อสอบรูปแบบภาษาอังกฤษทั้งหมด (ไม่มีแปลภาษาไทย) แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่
  • 2.1 ข้อสอบแบบเลือกตอบ 4 หรือ 5 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ (รวม 30 คะแนน)
  • 2.2 ข้อสอบแบบเติมคำตอบ (short answer) จำนวน 5 ข้อ (รวม 30 คะแนน)
  • 2.3 ข้อสอบแบบเขียนอธิบายแสดงวิธีคิด จำนวน 4 ข้อ (รวม 40 คะแนน)
  • (essay problems)
  • หมายเหตุ
  • ทางโครงการฯ ไม่อนุญาตให้นำข้อสอบกลับ ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่ จด คัดลอก และกระทำการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ หรือนำข้อสอบออกจากห้องสอบ
เนื้อหาที่ใช้สอบ

คุณสมบัติผู้สมัคร

  • แบบทดสอบเน้นวัดทักษะทางคณิตศาสตร์ จากสถาบัน Surya ประเทศอินโดนีเซีย (รูปแบบภาษาอังกฤษทั้งหมด)
  • เปิดรับสมัคร 5 ช่วงชั้น
  • ป.1 - ป.2
  • ป.3 - ป.4
  • ป.5 - ป.6
  • ม.1 - ม.2
  • ม.3 -ม.4

วัตถุประสงค์

  • สถาบัน Surya ประเทศอินโดนีเซีย ก่อตั้งขึ้นในปี 2006 ได้รับการยอมรับให้เป็นผู้นำด้านการจัดแข่งขันวิชาการระดับนานาชาติ ดำเนินการจัดสอบแข่งขันวิชาการต่างๆ มากมาย เช่น วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์โอลิมปิกแห่งเอเชีย (ASMOPSS), Math Contest, American Mathematics Competition (AMC), Australian Mathematics Competition (Ausmac), Singapore and Asian Schools Math Olympiad (SASMO) , การแข่งขันคณิตศาสตร์ของประเทศแคนาดา, การแข่งขันคณิตศาสตร์นานาชาติ (TOT) และอื่นๆ อีกมากมาย
  • ปี 2020 สถาบัน Surya จึงจัดตั้งโครงการการแข่งขันทักษะทางคณิตศาสตร์ Factorial Math Competition (FMC) ขึ้นโดยมุ่งสามารถวัดผลประเมินเพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
  • ในปี 2024 นี้ สถาบัน Surya ร่วมกับ Miraah Education (ผู้ได้รับสิทธิดำเนินการจัดการแข่งขันในประเทศไทย) หวังว่าการแข่งขันคณิตศาสตร์ Factorial Math Competition (FMC) จะทำให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันทุกคนสามารถพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของตนเองได้หลายเท่าซึ่งคล้ายกับจำนวนแฟกทอเรียล

รางวัลและสิ่งที่นักเรียนจะได้รับจากการสอบ

  • เกณฑ์การให้เหรียญรางวัล : โครงการ FMC มีเกณฑ์การตัดสินรางวัลตามช่วงชั้นของการแข่งขัน โดยแบ่งออกเป็น 4 รางวัลและมีเกณฑ์การตัดสินดังนี้
  • - นักเรียนที่คะแนนสูงสุดคิดเป็นสัดส่วน 4 เปอร์เซ็นต์ ของผู้เข้าสอบทั้งหมดในแต่ละระดับชั้น ได้รับรางวัลเหรียญทองพร้อมใบประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติระดับเหรียญทอง และผลการประเมินเคราะห์อัจฉริยภาพรายบุคคล
  • - นักเรียนที่คะแนนน้อยกว่ารางวัลเหรียญทองลงมาตามลำดับคิดเป็นสัดส่วน 8 เปอร์เซ็นต์ ของผู้เข้าสอบทั้งหมดในแต่ละระดับชั้น ได้รับรางวัลเหรียญเงินพร้อมใบประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติระดับเหรียญเงิน และผลการประเมินวิเคราะห์อัจฉริยภาพรายบุคคล
  • - นักเรียนที่คะแนนน้อยกว่ารางวัลเหรียญเงินลงมาตามลำดับคิดเป็นสัดส่วน 12 เปอร์เซ็นต์ ของผู้เข้าสอบทั้งหมดในแต่ละระดับชั้น ได้รับรางวัลเหรียญทองแดงพร้อมใบประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติระดับเหรียญทองแดง และผลการประเมินวิเคราะห์อัจฉริยภาพรายบุคคล
  • - นักเรียนที่คะแนนน้อยกว่ารางวัลเหรียญทองแดงลงมาตามลำดับคิดเป็นสัดส่วน 16 เปอร์เซ็นต์ ของผู้เข้าสอบทั้งหมดในแต่ละระดับชั้น ได้รับใบประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติระดับชมเชย และผลการประเมินวิเคราะห์อัจฉริยภาพรายบุคคล
  • - นักเรียนที่คะแนนน้อยกว่ารางวัลชมเชยลงมาตามลำดับ จะได้รับใบประกาศนียบัตรรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E - Certificate) และผลการประเมินวิเคราะห์อัจฉริยภาพรายบุคคล
  • - นักเรียนแต่ละช่วงชั้นที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกได้รับรางวัลเหรียญทองทุกคนจะได้รับสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน Factorial Math Competition หรือ FMC ระดับนานาชาติ ที่เมืองจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 5 – 8 กรกฎาคม 2568 ในฐานะนักเรียนผู้แทนประเทศไทย

ประกาศจากสนามสอบ Factorial Math Competition (FMC)